สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท – ธนาคารออมสิน (GSB)

no image
รายได้ขั้นต่ำ ประเภทสินเชื่อ ระยะเวลาการกู้ อายุผู้สมัคร
ไม่ระบุ สินเชื่อเอนกประสงค์ สูงสุด 5 ปี ไม่ระบุ


สิทธิประโยชน์

สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท ยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท ไม่ว่าในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ การศึกษา การสาธารณสุข และการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ ธนาคารออมสินยินดี สนับสนุนกลุ่มชาวบ้านที่มีส่วนร่วมช่วยเหลือและพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยการให้บริการสินเชื่อพัฒนาชนบท ไม่ว่าจะนำไปช่วยเหลือทางด้านการศึกษา สาธารณสุข อาชีพ และความเป็นอยู่ของชุมชนต่างๆ
วัตถุประสงค์การขอกู้
กรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ดังนี้

  • ปรับปรุงหรือขยายกิจกรรมที่ทำอยู่เดิม
  • ลงทุนใหม่ในกิจกรรมเพื่อการผลิตหรือการค้า
  • ลงทุนในการก่อสร้างหรือซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์และมีแผนการ จัดเก็บเงินจากผู้ได้รับประโยชน์เพื่อใช้คืนเงินกู้
  • เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มหรือสมาชิก

วงเงินให้กู้

  • กรณีกลุ่มเป็นองค์กรชุมชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน ให้กู้ได้ไม่เกิน 5 เท่าของเงินออม หรือเงินกองทุนที่กลุ่มมีอยู่ ณ วันที่ยื่นขอกู้ ดังนี้
  • - กรณีกลุ่มเป็นนิติบุคคล ให้กู้ประเภทที่มีระยะเวลา (LT) และ/หรือ ให้กู้ประเภทเบิกเงินเกินบัญชี (OD)
    - กรณีกลุ่มไม่เป็นนิติบุคคล ให้กู้ประเภทที่มีระยะเวลา (LT)

  • กรณีกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทั้งที่เป็นนิติบุคคลและไม่เป็นนิติบุคคล ให้กู้ประเภทมีระยะเวลา (LT) และ/หรือประเภทเบิกเกินบัญชี (OD) ทั้งนี้ ให้กู้รวมกันได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท โดยพิจารณาวงเงินกู้ตามแผนงาน หรือโครงการและความสามารถในการชำระคืน

ระยะเวลาชำระเงินเงินกู้

  • กรณีกู้ประเภทที่มีระยะเวลา (LT) ให้กู้ได้ไม่เกิน 5 ปี ชำระเงินงวดเป็นงวดราย 1,2,3,4,6 หรือ 12 เดือนขึ้นอยู่กับที่มาของรายได้ และ/หรือตามลักษณะอาชีพ หรือกิจกรรมของกลุ่ม
  • กรณีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีให้พิจารณาทบทวนวงเงินทุก 1 ปี และอำนาจทบทวนเงินกู้เบิกเกินบัญชี เป็นไปตามวงเงินอนุมัติการให้สินเชื่อ

การจ่ายเงินกู้

  • จ่ายครั้งเดียว หรือ หลายงวด

การจ่ายเงินสนับสนุน

  • กรณีกลุ่มเป็นองค์กรชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน ธนาคารจะจ่ายเงินสนับสนุนให้แก่กลุ่มในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินกู้คงเหลือก่อนรับชำระหนี้ในแต่ละงวดเมื่อครบรอบปี หรือเมื่อมีการชำระหนี้ปิดบัญชีหลังจากที่กลุ่มกู้เงินไปแล้ว ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปและมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
  • - กลุ่มต้องไม่ผิดนัดชำระหนี้ภายใน 1 ปี ที่มีการจ่ายเงินสนับสนุน
    - จำนวนสมาชิกออมเงินสัจจะสม่ำเสมอ ร้อยละ 98 ขึ้นไป
    - จำนวนสมาชิกส่งเงินชำระคืนสม่ำเสมอ ร้อยละ 98 ขึ้นไป
    - มีการจัดสรรกำไร เพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิก และ/หรือพัฒนาท้องถิ่น
    - กรณีเบิกเงินเกินบัญชี (OD) ธนาคารจะไม่จ่ายเงินสนับสนุนให้แก่กลุ่ม

  • กรณีกลุ่มเป็นผู้ประกอบการ OTOP หรือกลุ่มวิสาหกิจชุชน ธนาคารจะไม่จ่ายเงินสนับสนุนให้แก่กลุ่ม

เงื่อนไขอื่นๆ

  • กรณีใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ให้เป็นไปตามหนังสือวิธีปฏิบัติการรับหลักประกันประเภทบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อ OTOP และวิสาหกิจชุมชน

คุณสมบัติผู้สมัครและเอกสาร

  • เป็นองค์กรชุมชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน หรือกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่เป็นสมาชิก สพช. และมีบัญชีเงินฝากเป็นบัญชีร่วมประเภทเผื่อเรียก ชื่อบัญชี "กลุ่ม.........." กับสาขาที่ขอกู้เงิน
  • มีผลงาน หรือกิจกรรมที่ทำร่วมกันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน กรณีไม่เป็นไปตามเกณฑ์ดังกล่าวให้อยู่ในดุลยพินิจของสาขา
  • มีเงินออม หรือเงินกองทุนของกลุ่มอยู่จำนวนหนึ่ง

ข้อมูลพื้นฐานของ

ชื่อผลิตภัณฑ์ สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท – ธนาคารออมสิน (GSB)
สถาบันการเงิน ธนาคารออมสิน (GSB)
รายละเอียดอัตราดอกเบี้ย - กรณีเงินกู้ระยะยาว (LT) อัตราดอกเบี้ย 6.00% ต่อปี
- กรณีเบิกเงินเกินบัญชี (OD) อัตราดอกเบี้ย MRR - 1.00 ต่อปี
- กรณีใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกัน หรือใช้ บสย. ค้ำประกันร่วมกับหลักประกันประเภทอื่นของธนาคาร (LT) อัตราดอกเบี้ย 6.00% ต่อปี
วงเงินกู้ ไม่เกิน 5 เท่าของเงินออม หรือให้กู้รวมกันได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท
ระยะเวลาการกู้ สูงสุด 5 ปี
ค่าธรรมเนียมสำรวจและประเมินหลักประกัน โปรดสอบถามผู้ให้บริการสินเชื่อ
รูปแบบการค้ำประกัน 1. วงเงินกู้ไม่เกิน 3,000,000 บาท มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1.1กรณีกลุ่มไม่เป็นนิติบุคคล แยกเป็น 2 กรณี
(1) กรณีกลุ่มมีสมาชิกน้อยกว่า 10 คน ใช้คณะกรรมการกลุ่มและสมาชิกทุกคนลงลายมือชื่อร่วมกันในฐานะผู้กู้สัญญากู้เงิน
(2) กรณีกลุ่มมีสมาชิกตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้คณะกรรมการกลุ่มทุกคนลงลายมือชื่อร่วมกันในฐานะผู้กู้ในสัญญากู้เงิน ทั้งนี้ผู้ลงลายมือชื่อร่วมกันในฐานะผู้กู้ในสัญญากู้เงินตาม (1)และ(2) ต้องเป็นผู้ฝากเงินประเภทเผื่อเรียกของธนาคาร
1.2 กรณีกลุ่มเป็นนิติบุคคล ให้คณะกรรมการกลุ่มทุกคนลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกัน

2. วงเงินกู้เกิน 3,000,000 บาท ให้จัดหาบุคคลค้ำประกันร่วมกับหลักทรัพย์ประเภทอื่นของผู้กู้ หรือของบุคคลอื่นที่ยินยอมให้ใช้ำค้ำประกัน ดังนี้
2.1 สมุดฝากเงินออมสิน และ/หรือสบากออมสินพิเศษ ค้ำประกันได้ไม่เกินร้อยละ 100 ของจำนวนเงินฝากคงเหลือในสมุด หรือของมูลค่าสลากออมสินพิเศษ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) เป็นของผู้กู้ และ/หรือบุคคลอื่น ซึ่งเป็นของสาขาที่ให้กู้เงิน
(2) ต้องมอบให้ธนาคารยึดถือ พร้อมทั้งโอนสิทธิการถอนไว้ให้ธนาคาร
(3) สลากออมสินพิเศษชนิดระบุให้ใช้เงินแก่ผู้ถือสลากออมสินพิเศษ ซึ่งยังไม่มีการโอนเปลี่ยนชนิดสบาก หรือสมุดฝากเงินเพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์/สลากออมสินพิเศษของผุ้เยาว์ไม่สามารถใช้เป็นหลักประกันการกู้เงินได้
2.2 อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตั้งอยู่ในทำเลที่มีความเจริญสาธารณูปโภคอื่นตามความจำเป็น และมีทางสาธารณประโยชน์ รถยนต์เข้าออกสะดวก ดังนี้
(1) ไม่เกินร้อยละ 95 ของราคาประเมินโฉนดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
(2) ไม่เกินร้อยละ 85 ของราคาประเมินโฉนดที่ดินว่างเปล่า
(3) ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินห้องชุด
(4) ไม่เกินร้อยละ 60 ของราคาประเมินโฉนดที่สวน ที่ไร่ ที่นา
ทั้งนี้ ให้อยุ่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการสินเชื่อเขตและคณะกรรมการสินเชื่อสำนัก พิจารณาอนุมัติ โดยผู้ค้ำประกันต้องต้องไม่เป็นผู้จำนองอสังหาริมทรัพย์ไว้กับธนาคารเพื่อประกันการชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับเดียวกัน
2.3 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
จ่ายครั้งเดียว หรือ หลายงวด
ค่าทวงหนี้ โปรดสอบถามผู้ให้บริการสินเชื่อ
ค่าเบี้ยปรับกรณีปิดภาระหนี้ก่อนกำหนด โปรดสอบถามผู้ให้บริการสินเชื่อ
เอกสารทางด้านหลักประกัน โปรดสอบถามผู้ให้บริการสินเชื่อ


เลือกตามสถาบันการเงิน


เลือกตามสถาบันการเงิน 2


ขออภัยค่ะ

บัตรนี้อยู่ระหว่างรอลิงค์โดยตรงจากสถาบันการเงิน
บัตรที่มีลิงค์สมัครโดยตรงตามด้านล่าง

อิออน (AEON)
ซิตี้แบงก์ (Citibank)
บัตรกรุงไทย (KTC)
ธนาคารธนชาต (Thanachart)
ธนาคารทหารไทย (TMB)
ธนาคารยูโอบี (UOB)